โยคะบำบัดโรค

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะบำบัดโรค



     สิ่งที่จะดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของคุณ คือ โยคะ เพราะการฝึกโยคะนั้นเป็นการฝึกทั้งร่างกาย การหายใจและฝึกจิตไปพร้อมๆกัน แถมโยคะบำบัดโรคได้อีกด้วย

 

องค์ประกอบในการฝึกโยคะ

1.ยะมะ (Yama)

ยะมะ หมายถึง ความมีศีลและจริยธรรมที่ช่วยให้คนในสังคมอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะระกอบไปด้วยการไม่ฆ่า หรือ ทำร้ายผู้อื่น การรักษาสัตย์ การไม่ลักขโมยอยากได้ของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง การทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด การมีชีวิตอย่างพอเพียงไม่สะสมสิ่งใดที่เกินความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

2.นิยะมะ (Niyama)

นิยะมะ หมายถึง การมีวินัยในตัวเอง เช่น การรักษาร่างกายให้สะอาดด้วยการชำระล้างร่างกาย รวมไปถึงการรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์โดยการฝึกโยคะและลมปราณ การฝึกตนเองให้พอใจในสิ่งที่มีอยู่ การควบคุมกาย วาจา ใจให้ทำในสิ่งที่ดี กี่รูจักตนเองให้ดีเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของตนได้อย่างถูกต้อง การฝึกที่จะลดความโลภ โกรธ หลงและเชื่อในความดีของตนเอง

3.อาสนะ (Asana)

อาสนะ หมายถึง ท่าโยคะเป็นท่าสำหรับบริหารร่างกายฝึกการเหยียดกล้ามเนื้อ กระตุ้นการทำงานของประสาท กระตุ้นต่อมต่างๆและอาสนะทำให้ร่างกายนิ่งจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นกาฝึกร่างกาย จิตใจและวิญญาณรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

4.ปราณยาม (Pranayama)

ปราณยาม หมายถึง การฝึกกำหนดลมหายใจอย่างเป็นระบบ ปราณ แปลว่า การหายใจ ยามา แปลว่า ยืดออก การทำให้ยาว เมื่อนำมารวมกันจึงเกิดความหมายใหม่ คือ การหายใจให้ยาว ประกอบด้วยการหายใจเข้า หายใจออกและกลั้นหายใจ

5.ปรายาหาระ (Prayahara)

ปรายาหะระ หมายถึง การควบคุมความอยากได้อยากมีวัตถุที่มาทำให้เกิดกิเลส เมื่อคนเราสามารถที่จะควบคุมความอยากในสิ่งเหล่านั้นได้จะทำให้การดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายแลมีความสุข

6.ธารนะ (Drarana)

ธารนะ หมายถึง การจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ได้แก่ การอยู่ในท่าโยคะโดยที่จิต ประสาทและความรู้สึกต่างๆ จดจ่ออยู่ทีลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียวไม่ฟุ้งซ่น ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างจริงจัง

7.ธยานะ (Dyhana)

ธยานะ หมายถึง จิตที่เพ่งจนเกิดเป็นสมาธิ เมื่อจดจ่อจนเกิดสมาธิจะทำให้เกิดพลังเหมือนหลอดไฟที่ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา เมื่อฝึกโยคะจากท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่งโดยที่ผู้ฝึกมีจิตใจจดจ่ออยู่ตลอดจะทำให้ร่างกายรู้สึกเบาสบาย ปราศจากความอยากได้อยากมีและมีจิตใจที่แจ่มใส

8.สมาธิ หือ ญาณ (Samadhi)

สมาธิ หรือ ญาณ หมายถึง การฝึกจิตนถึงขั้นที่เกิดสมาธิ หรือ ญาณถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของกาฝึกโยคะ เมื่อฝึกถึงขั้นนี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่สภาวะพัก มีความสงบนิ่งเกิดความสมดุลและสงบเย็นอย่างแท้จริงทำให้ตัดความลุ่มหลงต่อวัตถุภายนอก

 

โยคะบำบัดโรค

1.ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพและทำให้การเคลื่อนไหวท่วงท่าเป็นไปอย่างสง่างาม ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆเพิ่มความยืดหยุ่นให้ข้อต่อต่างๆ

2.ช่วยทำให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายสมองปลอดโปร่ง กระตุ้นเซลล์ทั่วร่างกายให้สดชื่นแจ่มใสมีชีวิตชีวาช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ผิวเนื้อตึงและกระชับไม่หย่อนยานง่าย

3.ช่วยแก้ไขทรวดทรงและรูปร่างให้ดีขึ้นเพราะในขณะที่ฝึกจะมีการกระจายน้ำหนักไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย รวมไปถึงช่วยลดไขมันเฉพาะส่วนทำให้น้ำหนักคงที่หากฝึกโยคะเป็นประจำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

4.ช่วยบำบัดรักษาอาการบาดเจ็บไม่สบายอันเกิดจากโรคต่างๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อตึง การฝึกโยคะจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวและการฝึกโยคะยังช่วยนวดอวัยวะส่วนท้องกำจัดอาการท้องผูกและอาหารไม่ย่อย

5.ช่วยลดความเครียดฝึกให้มีสติและใจเย็นลงเพราะโยคะมีการฝึกหายใจ ผู้ฝึกหายใจได้ยาวและลึกขึ้นหากเกิดอาการหงุดหงิด หรือ เครียด ให้ใช้วิธีสูดลมหายใจเข้าลึก หายใจออกยาวจะทำให้บรรเทาอาการโกรธได้ดีขึ้นส่งผลทำให้ร่างกายหลับสบาย ช่วยให้สมาธิ ความจำดี อารมณ์สุขุมเยือกเย็น ขจัดความคิดฟุ้งซ่านทำให้สุขภาพจิตดีเสริมสร้างพลังชีวิต

 

     นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมานั้น การฝึกโยคะที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอยังทำให้ประโยชน์ต่อสุขภาพจิตใจและประสิทธิภาพในการทำงานของสมองดีขึ้นไปด้วย ซึ่งสุขภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจย่อมส่งผลต่อศักยภาพที่ดีในการดำรงชีวิตในทุกๆวันอีกด้วย ดังนั้นอย่าปล่อยเวลาของคุณให้ว่างเปล่าเมื่อรู้แล้วว่าโยคะบำบัดโรคได้ก็หันมาฝึกโยคะกันดีกว่าค่ะ



บทความที่น่าสนใจ

3 ท่าโยคะ คลายอาการ Text Neck Syndrome
ต้องลอง ! 5 ท่าโยคะพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้น