โยคะ มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด ?

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะ มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด ?



โยคะ Yoga ถือกำเนิดมา ราวๆ 1,000 ปี ที่ประเทศอินเดีย มนุษย์ในสมัยนั้นพยายามที่จะค้นคว้าเพื่อเข้าถึงความเป็นอยู่ของตนเอง และนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นตัวอักษร บนวัสดุต่างๆจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นความรู้และกลายเป็นวัฒนธรรม ที่พัฒนาต่อมา มีการค้นพบไม้แกะสลักเป็นรูปปั้น การฝึก โยคะ ในหุบเขาอินดัสวอลเลย์ ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญ มากในยุคสมัยนั้น ในช่วงราวๆ 2000 ปีก่อน คริสต์ศักราช หรือ ปากีสถานในปัจจุบัน

 

     ปตัญชลี นักปราชญ์ชาวฮินดู ผู้ที่ได้หยิบนำเอาวัฒนธรรมการฝึกโยคะขั้นพื้นฐานคนแรก โดยผู้ที่นำไปปฎิบัติที่เป็นผู้ชายเรียกว่า โยคิน หรือโยคี ส่วนผู้ที่นำปฏิบัติที่เป็นผู้หญิงเราเรียกว่า โยคินี ผู้สอน เราเรียกว่า คุรุ หรือ ครูนั้นเอง

 

     ต่อมาในภายหลัง ชาวตะวันตกได้นำศาสตร์โยคะ มาผสมผสานจาก hatha yoga มาประยุกต์เข้ากับการออกกำลังกายเป็นศาสตร์ โยคะ ( YOGA )ได้เข้ามาแพร่หลายมากขึ้นสู่สังคม คนทั่วไปเริ่มเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการ ฝึกโยคะ มากขึ้นเรื่อยๆ การฝึกโยคะนั้นมีผลทำให้การทำงานของร่างกายในการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ การยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง แล้วระบบเส้นประสาท การทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ระบบหมุนเวียน เลือดดีขึ้น สารอาหารส่งไปเลี้ยงประสาทได้สะดวกและครบถ้วน ไม่ใช่เพียงแต่ร่างกายจะดีขึ้นเพียงเท่านั้น การฝึกโยคะมุ่งที่จะฝึกให้ร่างกาย สอดคล้องไปกับการหายใจ การกำหนดลม จิต ทั้งหมดต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้มีประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย

 

ความหมายของ โยคะ

โยคะ คือ ร่างกาย จิตใจและ ลมหายใจ ในการฝึก โยคะ เป็นการผสานร่างกายรวมไว้ให้เข้าด้วยกัน เปรียบเทียบได้เช่น เรานั่งทำสมาธิ ใหเสงบแน่วแน่ และลมหายใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกายเรา เมื่อเรามีกายที่สมดุล มีจิตที่สงบนิ่งมั่นคง ก็จะช่วยยกระดับ จิตให้สูงขึ้นเต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ การฝึกโยคะนั้นเราจึงต้องมีสติกับกายที่รู้อยู่ ตลอดเวลาจึงเกิดสมาธิผสานกับลมหายใจเข้าออกก่อให้เกิดเป็นสมาธิ เมื่อทำต่อไปเรื่อยๆ จะเกิดเป็นความสมดุลในร่างกาย เมื่อเราฝึกจนเกิดเป็นความสมดุลภายในร่างกาย และสมดุลระหว่างผู้อื่น หรือแม้แต่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นผลดีกับเรานั้นคือโยคะจะ ช่วยพัฒนาจิตใจเราให้สูงขึ้น สามารถแยกแยะวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และควบคุมจิตใจตัวเราเองได้

 

ในการฝึก โยคะ ( Yoga ) จะมี 3 องค์ประกอบสำคัญได้แก่

1.การออกกำลังกายหรือการฝึกท่าโยคะ

2.การหายใจหรือลมปราณ การทำสมาธิ

3.การฝึกท่าโยคะ

     จะช่วยกระตุ้นอวัยวะและต่อมต่างๆในร่างกายให้มีความรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกดีขึ้นทำให้มีพลังในการที่จะทำสิ่งใดต่อ การควบคุมการหายใจจะทำให้จิตใจและสุขภาพดีขึ้น การฝึกท่าโยคะและการหายใจจะเป็นพื้นฐานในการทำสมาธิ หากท่านได้ฝึกทั้งสามอย่างจะทำให้ผู้ฝึกมีสุขภาพที่แข็งแรง จิตใจผ่องใสและเข็มแข็ง

 

โดย โยคะ ( YOGA ) จะมีชนิดแตกต่างกันไปดังนี้

 

ราชา โยคะ (Raja-Yoga)

   สำหรับผู้ฝึกที่มีจุดมุ่งหมาย เน้นความสงบ ด้านจิตใจ เป็นโยคะที่ฝึกง่าย ใช้หลักการฝึกที่เป็นวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ตั้งใจฝึกซ้อมอย่างจริงจัง จะได้ทั้งความสงบของจิตใจ และแสงสว่างแห่งปัญญาเป็นรางวัล แต่กว่าจะสงบได้ถึงระดับนั้น ในไม่ช้าผู้ฝึกจะพบว่าตนเองนั้นได้ ปลีกตัวออกมาจากสังคมอย่างสงบแล้ว

 

กรรม โยคะ (Kamar-Yoga)

   จัดเป็นโยคะที่ใช้ความเชื่อทางด้านศาสนา มีวิถีพิธีกรรม บวงสรวงและสวดบูชาเทพเจ้า เช่น พระวิษณุ สิ่งที่ผู้ฝึกโยคะตามแนวทางนี้ จะได้รับคือการลด ละ เลิก ตัดกิเลสออกไปทั้งสิ้น

 

ภักติ โยคะ (Bhakti-Yoga)

   โยคะประเภทนี้เหมาะมากสำหรับ ผู้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจริงจัง ที่จะปลีกวิเวกไปอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร เป็นโยคะอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญไปที่ด้านของจิตใจ ให้รู้จักการให้ การเสียสละ

 

ญาณ โยคะ (Jnana-Yoga)

   เป็นโยคะที่เชื่อในเรื่องของความจริง และเชื่อว่าความรู้ที่ได้จากการฝึก ปฏิบัติโยคะอย่างมีสมาธิ รวมทั้งการปลีกวิเวกจะสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติโยคะ แยกแยะระหว่างความจริง (Reality) และการหลงผิด (Maya) ได้

 

ตันตระ โยคะ (Tantra-Yoga)

   เป็นโยคะที่ชี้นำให้ผู้ปฏิบัติทราบว่า ด้านมืดและด้านสว่างของชีวิตนั้น แตกต่างกันอย่างไร เป็นโยคะประเภทเดียว ที่รวบรวมเอาข้อดีของโยคะประเภทต่างๆ มาประยุกต์ใช้ มีการทำพิธีบวงสรวง เน้นการทำสมาธิให้ได้ถึงระดับญาณ เพื่อปลุกพลังภายในร่างกาย และพลังจิตสามารถทำงานผสานกันได้ ในขณะที่ทำท่าอาสนะ

 

หฐ โยคะ (Hatha-Yoga)

   โยคะ ประเภทนี้ได้หยิบนำเอาท่าอาสนะสมัยโบราณ มาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ฝึก ใช้ศิลปะการบริหารร่างกาย มีการกำหนดลมปราณ ในขณะทำท่าอาสนะเพื่อความมีสมาธิ เพราะผลที่ได้จากการฝึกฝน ที่ให้ความสำคัญทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีสุขภาพที่ทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดสมาธิ

 

มนตราโยคะ (Montra-Yoga)

   โยคะร่วมสมัยที่นำเอาท่าอาสนะสมัยเก่า มาดัดแปลงประยุกต์ เน้นการเอ่ยคำว่า“โอม” ฝึกได้ด้วยท่าง่ายๆ

 

     คงได้รู้อะไรหลายๆอย่างจากบทความนี้แล้วใช่ไหมหล่ะ หลายคนอาจไม่เคยนึกมากก่อนว่า โยคะ ( Yoga ) ที่เรารู้จักนั้นมีประวัติมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเท่านั้นยังมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรม อารยธรรม ความเชื่อ ต่างๆรวมเข้าได้ด้วยอย่างศาสตร์และศิลป์ที่มีความลึกซึ้งมาก ให้เราได้เข้าถึง จิตวิญญาณที่แท้จริง

     ในปัจจุบันการเผยแพร่ศิลปะศาสตร์มีอยู่แพร่หลาย ให้เราได้เลือก โยคะ ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ด้านร่างกาย แต่รวมไปถึงจิตใจ หากใครที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามอื่นหรือข่าวสารความรู้ คลิกที่นี่เลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodhealth



บทความที่น่าสนใจ

คลายเครียดด้วยโยคะ