7 จักระของโยคะ

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

7 จักระของโยคะ



     จักระของโยคะ คือ ศูนย์รวมพลังของความฉลาดอันล้ำลึก ซึ่งจะสถิตซ่อนอยู่ภายในร่างกายของทุกคน ในร่างกายของคนเราจะมีศูนย์รวมพลังที่ติดต่อสัมพันธ์อย่างแน่นกับศูนย์กลางในสมองซึ่งยังหลับสงบนิ่งอยู่ พลังความสามรถอันมหาศาลนั้นซ่อนอยู่ภายในสมองของมนุษย์พลังความสามารถที่เรานำไปใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะถูกนำออกมาใช้ ซึ่ง 7 จักระของโยคะ ดังนี้

     ในตำราของ โยคะ (Yoga) นั้นบอกเอาไว้ว่าในสมองของคนเรานั้นจะมีพลังความสามารถที่ซ่อนอยู่ปรากฏตัวออกมาทำหน้าที่อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพนั้นต้องใช้เวลานานมาก ในหลักของ โยคะ (Yoga) มีแนวปฏิบัติเพื่อเร่งเวลาให้พลังความสามารถของสมองนั้นแสดงออกมาให้เร็วที่สุด แต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพราะสิ่งที่ปฏิบัติเหล่านั้นเปรียบเสมือนกุญแจนำทาง หลังจากที่กระตุ้น หรือ ปลุกจนถูกส่วนผลที่ตามมาก็คือความสำเร็จและเต็มไปด้วยความกระจ่าง สิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ คือ 7 จักระของโยคะนั้นเอง การทำหน้าที่แต่ละจักระมีความสำคัญมาก ซึ่งในร่างกายของคนเรานั้นมี 7 จักระ (ศูนย์กลางประสาททั้ง7) จะทำการติดต่อถึงกันกับศูนย์กลางของสมองและในกลางสมองนี้ยังมีพลังความสามารถมากมายที่ยังไม่แสดงออกมา ซึ่งแต่ละตำแหน่งจะทำให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพ

 

7 จักระของโยคะ

1.มูลธาร (Root Chakra - Muladhara)

ในผู้ชายจะอยู่ตรงกับปลายก้นกบแต่ในผู้หญิงจะตั้งอยู่ที่ด้านหลังของปากมดลูกลงไป หรือ ฐานของมดลูก เป็นต่อมที่มีความรู้สึกสูงมากและเป็นต่อมที่รับความรู้สึกได้อย่างชัดเจน ซึ่งตำแหน่งที่กล่าวมาข้างต้นในภาษาของโยคะ (Yoga) เรียกว่า “มูลธาร” เป็นที่ตั้งของศูนย์รวมระบบประสาทเป็นตำแหน่งที่ตั้งของพลังที่ตื่นตัว เมื่อถูกปลุกจนตื่นตัวก็จะมีอานุภาพมากเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจิตสำนึกให้อำนาจในความคิด ความมีสติ ความรู้สึกตัวสูง มูลธารเป็นจักระที่ก่อร่างของความเป็นมนุษย์ ประกอบไปด้วย ร่างกาย จิตใจ วิญญาณ ความรู้สึก เป็นสิ่งที่เริ่มสร้างร่างกายมนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านสัญชาติและเกิดปัญญามูลธาร 1 ขึ้นไปจนถึง จักระ 6 เมื่อมีการปลุกจนตื่นตัว ฟื้นขึ้นมาจะทำหน้าที่ ได้แก่ เกิดลางสังหรณ์ เกิดแสงสว่างทำให้เกิดความกระจ่างขึ้น จักระที่1 ควบคุมการขับถ่ายของเสีย หลั่งฮอร์โมนของเหลว ควบคุมเกี่ยวกับระบบอวัยวะเพศ ระบบสืบพันธ์ในร่างกายมนุษย์

2.สวาธิษฐาน (Sacral Chakra-Svadhisthana)

สวาธิษฐานตั้งอยู่ส่วนปลายสุดของไขสันหลัง ตำแหน่งเดียวกับระบบประสาทในภาษา โยคะ (Yoga) เรียกว่า “สวาธิษฐาน” เป็นศูนย์รวบรวมระบบประสาทศูนย์กลางเป็นรากฐานของไขสันหลัง ระบบนี้จะควบคุมความรู้สึกตัวในร่างกายของมนุษย์ หรือ ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิต

3.มณีปุระ (Solar Plexus Chakra-Manipura)

มณีปุระตั้งอยู่ตำแหน่งเดียวกับจักระที่ 2 แต่สูงขึ้นมานิดหนึ่งในระดับกับสะดือ แต่ไม่ได้อยู่ในสะดืออยู่ในผนังของช่องไขสันหลัง มีศูนย์รวมประสาทกลุ่มใหญ่มากที่เรียก Solar Plexus ภาษา โยคะ (Yoga) เรียกว่า “มณีปุระ” ศูนย์รวมประสาทกลุ่มนี้ด้วยควบคุมการทำงานหน้าที่ของระบบทางเดินอาหารทั้งหมด เช่น การย่อย การดูดซึม การส่งอาหารและช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย

4.อนาหตะ (Heart Chakra-Anahata)

อนาหตะตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับหัวใจหลังกระดูกหน้าอกที่อยู่ใกล้ส่วนลึกของทรวงอกในผนังของช่องกระดูกสันหลัง มีประสาทกลุ่มใหญ่ ภาษา โยคะ (Yoga) เรียกว่า “อนาหตะ” ระบบนี้ควบคุมการทำงานของหัวใจ ปอด กระบังลมและระบบต่างๆ ในตำแหน่งเดียวกัน

5.วิศทะ (Throat Chakra-vishuddha)

วิศทะตั้งอยู่ในตำแหน่งส่วนบนสุดของช่องไขสันหลัง ส่วนล่างสุดของศีรษะทั้งสองมาบรรจบกันพอดีตรงกับประสาทเรียกว่า เซอวิคัลเพล็กซัส (Carvecal Plexus) หรือ ภาษา โยคะ (Yoga) เรียกว่า “วิสุทธิ์” ระบบนี้ควบคุมการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์ กระดูกข้อต่อ อวัยวะภายในปาก เพดาน ลิ้น อาการรู้สึก

6.อะชะ (Third Eye Chakra-Ajna)

อะชะเป็นจักรที่มีความสำคัญมากของจักระทั้งหมดตำแหน่งอยู่บนสุดของไขสันหลังระบบนี้ควบคุมการทำหน้าที่สำคัญของการแสดงออกทั้งหมดในร่างมนุษย์เป็นตำแหน่งที่ให้พลังในการสื่อสารความรู้สึกต่างๆ เรียกว่า Pineal Gland ภาษา โยคะ (Yoga) เรียกว่า “อะชะ” ระบบนี้ควบคุมการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อทั้งหมด ควบคุมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ควบคุมการทำหน้าที่ของอวัยวะเพศ ความรู้สึกทางเพศ

7.สหัสสราระ (Crown Chakra-Sahasrara)

สหัสสราระ หรือ ต่อมไฟนีลเป็นต่อมที่สำคัญที่สุดเมื่อจักระทั้ง 6 ฟื้นขึ้นมา จักระที่ 7 ก็จะตื่นตัวไปด้วยเพราะตั้งแต่จักระที่ 1 ถึง 7 ติดต่อกัน ต่อมไพนีล เป็นรูปโคนตั้งอยู่กลางสมองส่วนหลังเหนือต่อมพิตูอิตารีเล็กน้อย ต่อมไพนีลเต็มไปด้วยเม็ดสีซึ่งใกล้เคียงกับที่พบในตามนุษย์ ในทางโยคะเมื่อต่อมไพนีลถูกพัฒนาไปอย่างเต็มที่ด้วยการกระตุ้นที่เกิดจากสมาธิขั้นสูงที่จักระที่ 6-7 พลังงานการสั่นสะเทือนนี้เองที่กระตุ้นเพื่อเปิดดวงตาที่สาม เมื่อดวงตาที่สามถูกเปิดคุณจะรับรู้ความรู้สึกถึงการรู้แจ้งการเปิดดวงตาที่สามนี้เอง ที่ถูกเรียกว่า ดวงตาแห่งจิตวิญญาณ (Eye of the Soul)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก birdofyoga



บทความที่น่าสนใจ

เริ่ม โยคะ ( Yoga ) อย่างไร แบบไหนถึงจะเหมาะ
ปัญหาสุขภาพสามารถแก้ได้ด้วย โยคะ ( yoga )



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: