การฝึกลมหายใจ ปราณายามะ หัวใจสำคัญของ โยคะ

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

การฝึกลมหายใจ ปราณายามะ หัวใจสำคัญของ โยคะ



มีความเข้าใจผิดกับ โยคะ (Yoga) เกี่ยวกับอาสนะหรือการบริหารร่างกายที่มุ่งเน้นไปที่ท่าทางแบบยิมนาสติก ความจริงแล้วการฝึกโยคะเป็นการรวมความสมดุลระหว่างการฝึกร่างกายและการฝึกหายใจ การผ่อนคลายและการฝึกสมาธิ ดังนั้น การฝึกแต่ร่างกายจึงไม่ใช่โยคะที่สมบูรณ์ การฝึกร่างกายเป็นเพียงการเตรียมร่างกายไปสู่การฝึกหายใจ การฝึกหายใจ “ปราณายามะ” เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกประจำวันเพื่อประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป รวมทั้งผู้มีปัญหาทากายภาพด้วย

 

     การฝึกหายใจมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพ ตามหลักอายุรเวท ปราณายามะจะเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้มีอายุยืนนาน เพื่อที่จะทำให้มีสุขภาพดีอายุยืนนาน จึงควรทำความเข้าใจใน “ปราณายามะ”  (Pranayama) หรือการควบคุมลมหายใจ (Breath control) นั่นเอง

 

ปราณายามะ คืออะไร ?

     ปราณายามะ มาจากภาษาสันสกฤต แปลตรงตัวได้ว่า “การยืดปราณหรือลมหายใจ” แต่หากแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ว่าเป็น “การเพิ่มพลังชีวิต” การปฏิบัติปราณายามะเป็นการเพิ่มขนาดปราณและให้พลังแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ ปราณายามะ ส่งผลดีโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ ตลอดจนกิจวัตรประจำวันของเรา แม้อาสนะจะถูกคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเปิดร่างกายให้ปราณสามารถไหลผ่านได้สะดวก แต่ปราณายามะต่างหากที่กำจัดสิ่งต่าง ๆ ที่ปิดกั้นศูนย์กลางพลังงานและทางผ่านทั้งหลาย ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติปราณายามะและโยคะร่วมกันอย่างสมดุล 

 

การฝึกปราณายามะ

     การฝึกปราณายามะ 4 รูปแบบ แบ่งตามผลลัพธ์ของการฝึก ซึ่งบางรูปแบบเหมาะกับบางบุคคลเท่านั้น ผู้ฝึกจึงควรศึกษาข้อควรระวังให้ถ่องแท้และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการฝึกโยคะ ( Yoga )

 

1. ปราณายามะด้วยความร้อน/การกระตุ้นพลังชีวิต

     การฝึกปราณายามะในหมวดนี้ ต้องฝึกโดยการหายใจแรง ๆ เพื่อกระตุ้นพลังชีวิตและระบบเผาผลาญ สร้างความตื่นตัวให้กับจิตใจ พัฒนาความมั่นใจ เมื่อฝึกเป็นประจำจะสามารถกำจัดพิษทางกายและทางใจ ปัดเป่าความเกียจคร้านให้หายไป การหายใจแรงจะช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกและส่งผลให้รอบการหายใจช้าลงหลังฝึก

 

2. ปราณายามะด้วยความเย็น

     การฝึกปราณายามะในหมวดนี้ เน้นไปที่การทำให้ใจสงบและลดความร้อนที่เกิดต่อร่างกายและจิตใจ มีผลดีต่อการลดความรู้สึกโมโห ความรู้สึกหิว  กระหาย ภาวะความเป็นกรดในร่างกาย และรักษาแผลต่าง ๆ โดยการควบคุมแรงดันโลหิตและไทรอยด์เป็นพิษ

     หมายเหตุ : ห้ามมิให้บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า ความดันต่ำ เป็นไข้หวัด ภาวะขาดไทรอยด์ฝึกปราณายามะรูปแบบนี้

 

3. ปราณายามะเพี่อความสงบใจ

     การฝึกปราณายามะในหมวดนี้ ดีสำหรับทุกคนที่ฝึก แม้ผู้ฝึกนั้นจะป่วยก็ตาม ผลการฝึกที่ทำให้ร่างกายและจิตใจสงบจะช่วยเสริมการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสามารถหายเร็วขึ้นได้

 

4. ปราณายามะเพื่อรักษาสมดุลและการกักลมหายใจ

     การฝึกนี้จะฝึกกลั้นลมหายใจหลังหายใจเข้าและหลังหายใจออก ถึงแม้ปอดของคนที่เป็นโรคหอบหืดและโรคปอดต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพลดลง ก็สามารถฝึกให้คายคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการหายใจออกได้ดีขึ้นได้ และข้อดีของการฝึกรูปแบบนี้คือระดับออกซิเจนในกระแสเลือดจะสูงขึ้นถึงแม้ความจุปอดจะมีไม่มากเหมือนเคยก็ตาม

 

การฝึกปราณายามะเป็นประจำทุกวัน

     การฝึกจะช่วยป้องกัน รักษา และฟื้นฟูร่างกาย จิตใจและอารมณ์ของเราได้ และต้องฝึกอย่างมีสติเป็นประจำทุกวัน กำหนดสติใช้ท้องช่วยหายใจตลอดวัน สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับจากการตั้งใจฝึกปราณายามะ คือ พลังงานที่เพิ่มขึ้น มีความอดทนดีขึ้น มีสติมากขึ้น มีวงจรพลังชีวิตที่สมดุลขึ้น อวัยวะตลอดจนระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกขึ้น พึ่งพายาน้อยลง ฟื้นฟูและพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น

 

     การปฏิบัติปราณายามะเป็นการเพิ่มขนาดปราณและให้พลังแก่บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น ปราณายามะส่งผลดีโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ ตลอดจนกิจวัตรประจำวันของเรา ดังนั้นผู้ปฏิบัติควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ “ปราณายามะ” ( Pranayama ) และ “โยคะ” (Yoga) ร่วมกันอย่างสมดุล หากอยากเรียนโยคะ หรือ สนใจบทความเกี่ยวกับโยคะ  คลิกที่นี่เลย  

 

ด้วยความห่วงใยจาก eclipse studio bkk

 

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก Sanjiv Chaturvedi



บทความที่น่าสนใจ

โยคะ ( Yoga ) ยืดเส้น จัดกระดูก
โยคะท่าสะพานโค้ง แก้ปวดเมื่อย



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: