สายของโยคะ

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

สายของโยคะ



สาวๆที่อยากออกกำลังกาย หรืออยากจะเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองคงจะไม่มีใครไม่รู้จักโยคะเป็นแน่ โยคะเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้ร่างกายกระชับ เลือดลมไหลเวียนดี  แต่นั่นเป็นแค่ประโยชน์บางส่วน

ที่คนพูดถึงบ่อยเกี่ยวกับโยคะเท่านั้นเอง จริงๆแล้วโยคะไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องสุขภาพเท่านั้น แต่มีประโยชน์ทางด้านจิตใจด้วย

 

โยคะ (Yoga) หมายถึง การรวมกาย จิต และวิญญาณ ให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึกโยคะเป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก พัฒนาจิต โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่ง และบริหารจิตให้เข้มแข็งจนถึงขั้นยกระดับจิตให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

การพัฒนาความสมดุล ทั้งสมดุลต่อตัวเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งแวดล้อม การรวมกายและจิตเข้าด้วยกัน  อันจะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น ในแง่ปฏิบัติต้องรวมสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ การประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และมีจิตสงบนิ่งในขณะที่เคลื่อนไหว

 

โยคะไม่ได้มีแค่แบบเดียวนะคะ มีหลากหลายประเภทให้เราได้เลือกฝึกให้เหมาะกับความต้องการของเราครับ

ประเภทของโยคะ

 

1. หฐโยคะ (Hatha Yoga)

หฐ มากจากคำ 2 คำ หะ หมายถึงพลังเย็น (พลังลบ) ส่วน ฐะ หมายถึงพลังร้อน (พลังบวก) โยคะ หมายถึง การรวมตัวกัน ดังนั้น หฐโยคะ ก็คือ การใช้ศิลปะในการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ

 เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังด้านบวก และด้านลบ ให้จิตใจและร่างกายทำหน้าที่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยการฝึกจะเน้นการหายใจ ความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายมากกว่ามุ่งสร้างความแข็งแรง สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกโยคะมาก่อนก็สามารถฝึกได้เช่นกัน

2. วินยาสะ (Vinyasa Yoga)

วินยาสะ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ลมหายใจประกอบกับการเคลื่อนไหว ซึ่งการฝึกแบบวินยาสะนั้น จะมีการเคลื่อนไหวช้าๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกำหนดลมหายใจอย่างเป็นระบบ ทุกการเคลื่อนไหวจากท่าหนึ่ง ไปสู่อีกท่าหนึ่งจะสอดประสานด้วยลมหายใจ ช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแรง และความนุ่มนวลไปในคราวเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีรูปร่างกระชับ ร่างกายแข็งแรง ลดน้ำหนัก ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ทั้งยังช่วยลดความเครียด ฝึกจิตใจให้สงบ มั่นคง และแน่วแน่ ช่วยให้เกิดสมาธิ

3. อัษฎางค์ โยคะ (Ashtanga Yoga)

อัษฎางค์โยคะ เหมาะสำหรับคนชอบเล่นท่ายาก เพราะเป็นการฝึกกระบวนท่าที่ใช้ร่างกาย ลมหายใจ  และดริชตี้ (การกำหนดจุดมองของสายตา) มารวมกันให้เกิดการเชื่อมต่อภายในจนเกิดการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวพร้อมควบคุมลมหายใจ

 ก็เป็นจุดเด่นที่ต้องทำตลอดการฝึกค่ะ อัษฎางค์โยคะกับวินยาสะโยคะ เป็นสองอย่างที่มีความคล้ายคลึงกันมาก คือจะมีความลื่นไหลต่อเนื่องของท่วงท่า แตกต่างกันที่อัษฎางค์โยคะจะมีเซทของท่าที่เหมือนเดิม แต่วินยาสะจะมีการเปลี่ยนแปลงเซทของท่าไปเรื่อยๆ

4. อนุสราโยคะ (Anusara yoga)

อนุสราโยคะ คือการเรียนหฐโยคะ (Hatha-Yoga) ให้ลึกซึ้งขึ้นในรูปแบบที่แตกต่าง ในวิธีการสอนของแก่นสารเนื้อหาความสำคัญ
สำหรับ อนุสราโยคะ เป็นการฝึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือความสามารถในการบำบัดรักษาโรค จากจิตใจออกสู่ร่างกาย โดยการแนะนำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ช่วยตัวเองอย่างเต็มความสามารถ และได้ใช้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งจิตใจ หัวใจ ในการฝึกปฏิบัติทุกท่วงท่า จุดมุ่งหมายของอนุสราโยคะ คือการพัฒนาจิตใจและความมุ่งมั่น ไปพร้อมกัน

5. โยคะร้อน (Bikram Yoga)

โยคะ เป็นโยคะอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าโยคะร้อนก็เพราะว่าเป็นการฝึกโยคะในห้องที่มีอุณหภูมิสูง ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย คือประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส  ความแตกต่างก็คือ ทำให้กล้ามเนื้อของเราสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม 

ละท่าต่างๆ ของโยคะร้อนยังสามารถช่วยกระชับกล้ามเนื้อทุกส่วนสัดของร่างกายได้มากขึ้น ช่วยกำจัดของเสียให้ออกมาในรูปแบบของเหงื่อ ลดความอ้วน ลดปัญหาการปวดหลัง ปวดคอ แถมยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

6.ไอเยนคาร์โยคะ (Iyengar Yoga)

เป็นโยคะที่คิดค้นขึ้นโดย บี. เค. เอส. ไอเยนการ์ (B.K.S.Iyengar) เป็นโยคะที่เน้นในเรื่องการจัดท่า การจัดแนวการกระจายนํ้าหนักผ่านแขน ขา และกระดูกสันหลัง อย่างถูกต้องเหมาะสม (Alignment) เพื่อให้ผู้ฝึกได้ประโยชน์จากท่าต่างๆ และฝึกด้วยความปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการฝึก เช่น เข็มขัดโยคะ ผนังห้อง เก้าอี้ หมอนรอง เป็นต้น

 และเป็นโยคะพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความอ่อนตัวมากนัก เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกโยคะ

7. กฤปาลูโยคะ (kripalu Yoga)

เป็นโยคะแบบเคลื่อนไหวที่เน้นสมาธิมากพอกับการปฏิบัติอาสนะ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านร่างกายหรือผู้ที่สนใจการทำสมาธิ เรียนรู้และทำสมาธิจากร่างกายของตัวเอง

8. พรีเนทัลโยคะ (Prenatal Yoga)

เป็นโยคะที่มีการปรับท่าทางให้เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ เป็นท่าโยคะก่อนคลอด ที่จะทำให้คุณแม่แข็งแรงทั้งตอนก่อนคลอดและหลังคลอดคุณแม่ได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ลดความปวดเมื่อย ตึง ล้า

จัดระเบียบสรีระที่ถูกต้องในระหว่างที่ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ลดปัญหาในระยะหลังคลอด เช่น อาการปวดหลัง หลังคด ปวดคอ ปวดข้อเท้า

9. เรสโตเรทีฟ โยคะ (Restorative Yoga)

โยคะฟื้นฟู ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องป่วยหรือบาดเจ็บแต่อาจต้องการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจหลัง จากทำงานหนัก หรือเครียดจัด “เรสโตเรทีฟ โยคะจะอยู่ในท่าแต่ละท่านานประมาณ 10-15นาที นึกถึง Yin yoga ที่สบายยิ่งกว่า บวกอุปกรณ์หมอน เชือก block ผ้าห่ม เก้าอี้ สารพัดสิ่ง ความรู้สึกจะเหมือนนอนสบาย มีคนมีคอยกล่อม

10. หยินโยคะ (Yin Yoga)

การฝึกหยินโยคะนั้น จุดเด่นคือ ความนิ่ง และการค้างท่า จะเน้นการยืดเหยียดในระดับลึกของร่างกายจนถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไปที่ข้อต่อ และเส้นเอ็นต่างๆ เพื่อเสริมสร้างให้มีการยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ร่วมกับการรักษาสมาธิขณะเล่น เพราะท่าการฝึกแบบหยินนั้น จะมีการค้างท่าเป็นเวลา 3-5 นาที (นานมาก) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ 

หากท่านใดกำลังมองหา สถานทีฝึกโยคะคลิกที่นี่ มีพร้อมครูฝึกที่เป็นมืออาชีพ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  goddesszilla



บทความที่น่าสนใจ

โยคะฟลาย อีกหนึ่งความท้าทายของการเล่นโยคะ
อยากฝึก โยคะ ( Yoga ) ต้องฝึกอะไรบ้าง