โยคะนิ้ว ฝึกง่ายๆ  ช่วงเสริมร่างกาย

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะนิ้ว ฝึกง่ายๆ ช่วงเสริมร่างกาย



มีคนที่ฝึกฝน โยคะนิ้ว นั้นเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน ล้วนมีคุณหมอ 10 คนประจำตัว นั่นก็คือนิ้วทั้งสิบของเรานั่นเอง โดยเราสามารถฝึก โยคะนิ้ว ได้ โดยส่วนต่าง ๆ ของนิ้วมือนั้นมีความเกี่ยวข้อง กับการทำงาน ของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

 

               

1 ยูชาส ( Ushas )

เพื่อจิตใจที่เบิกบาน และร่างกายสดชื่น ตั้งแต่ยามเช้าตรู่ ใครที่ทุกเช้ามักมีปัญหา อิดออดไม่อยากลุก จากที่นอน ควรลองหมั่นฝึก โยคะนิ้วท่านี้ เพียงสอดประสาน นิ้วมือทั้งสิบนิ้วเข้าด้วยกน โดยให้โป้งซ้ายวางบนนิ้วโป้งขวา แต่สำหรับผู้ชาย ให้เปลี่ยนเป็นขวาทับซ้าย

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 5-15 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ดื่มชาโรสแมรี่ หรือชาเขียว เป็นประจำทุกเช้า

 

 

 

2 ปราณ ( Pran )

ช่วยให้ระบบประสาทเข้มเข็ง แตะปลายนิ้วโป้งกับปลายนิ้งนาง และนิ้วก้อย ส่วนนิ้วชี้กับนิ้วกลาง ให้เหยียดตรง และอยู่ในลักษณะชิดกัน ท่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง กับผู้ที่มีระบบประสาท ตึงเครียด และยังช่วยเพิ่มพลัง การมองเห็นให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที หรือจนกว่า จะรู้สึกสบายใจขึ้น

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน และแอลกอฮอล

 

 

 

3 ลินกะ ( Liga )

ช่วยเพิ่ม ภูมิต้านทาน ให้แข็งแรง ประสานนิ้วทั้งสิบ เข้าด้วยกัน โดยให้นิ้วโป้งซ้ายกับชี้ซ้าย โอบล้อมนิ้วโป้งขวาไว้ แล้วยกนิ้วโป้งขวาตั้งขึ้น ท่านี้จะดีสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ เพราะช่วยต้านหวัด ไอ จาม และขับเสมหะ ในปอด

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ควรกินผักผลไม้ ที่มีวิตามินซีให้มาก ๆ ดื่มน้ำขิงเป็นประจำ ไม่ดิ่มน้ำเย็น และหลีกเลี่ยงแดดจัด

 

 

 

4 อปาณ ( Apan )

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของตับ แตะปลายนิ้วโป้งกับปลายกลาง และนิ้วนาง ส่วนนิ้วชี้กับนิ้วก้อยเหยียดตรง

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที หรือมากกว่านี้ก็ได้

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ควรกินผักผลไม้ที่มีแคโรทีน เป็นประจำ

 

 

 

5 อปาณ วายุ ( Apan Vayu )

ช่วยทำให้จิตใจสงบ งอนิ้วชี้จนปลายนิ้วแตะฐานนิ้วโป้ง นิ้วกลางกับนิ้วนาง งอลงมาเหนือนี้วชี้ แตะปลายนิ้วกลาง และนิ้วนางไว้ที่นิ้วโป้ง ให้นิ้วก้อยเหยียดตรง

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง คนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ฟังดนตรีเบา ๆ คลอ

 

 

 

6 มหาศิรษ ( Mahasirs )

ช่วยขจัดอาการปวดคอ งอนิ้วนางมาแตะที่ฐานนิ้วโป้ง ปลายนิ้วโป้งนิ้วชี้ และนิ้วกลางแตะกัน นิ้วก้อยเหยียดตรง

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 6 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม บีบนวดบริเวณบ่าท้ายทอย และขมับ

 

 

 

7 ปริธิวิ ( Prithivi )

เพื่อผิวพรรณดี แตะปลายนิ้วนาง กับปลายนิ้วโป้งไว้ด้วยกัน ส่วนนิ้วที่เหลือให้เหยียดตรงขึ้น ท่านี้จะช่วยดึงเอาพลัง และความมีชีวิตชีวา จากภายใน ไปหล่อเลี้ยงผิวพรรณ เส้นผม และเล็บให้มีสุขภาพที่ดีได้

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม รับประทานธัญพืช ข้าวกล้อง เมล็ดดอกทานตะวัน ถั่ว งาต่าง ๆ รวมถึงผักสดผลไม้ ที่มีวิตามินซี และเบต้าแคโรทีน

 

 

8 ภูฏิ ( Bhudi )

ช่วยทำให้ไตทำงานดีขึ้น แตะปลายนิ้วก้อยนิ้วโป้งเข้าด้วยกัน ส่วนนิ้วที่เหลือปล่อยให้เหยียดตรง ท่านี้ให้ผลพลอยได้ อีกประการหนึ่ง คือช่วยให้ประสาท รับรสชาติทำงานดีขึ้น

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ควรดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ โดยจิบทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหาร ที่เค็มเกินไป และงดดื่มชา กาแฟ

 

 

9 วารุณา ( Varuna )

ช่วยทำให้ท้องไส้สุขภาพแข็งแรง งอนิ้วก้อยมือซ้าย โดยใช้นิ้วโป้งกดไว้ ส่วนอีกสามนิ้วให้เหยียดตรง แล้ววางมือบนอุ้งมือขวา โดยให้นิ้วโป้งมือขวา วางทับอยู่บนนิ้วก้อย ของมือซ้ายนั้นด้วย

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม ดื่มน้ำคั้นจากหัวผักกาดขาวเป็นประจำ

 

 

10 สุระภี ( Surabhi )

ช่วยต้านอาการปวดตามข้อ แตะปลายนิ้วก้อยข้างซ้าย กับนิ้วนางข้างขวา ส่วนปลายนิ้วก้อยขวา ก็ไปแตะกับนิ้วกลางซ้าย ขณะที่นิ้วชี้ซ้ายแตะกับนิ้วกลางขวา และนิ้วชี้ขวาแตะกับนิ้วนางซ้าย และนิ้วโป้งทั้งสองข้างกางออก

 

- ระยะเวลาฝึก วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที

- ปัจจัยที่ช่วยเสริม การว่ายน้ำช่วยให้ข้อทุกส่วน ของร่างกายแข็งแรง แถมน้ำยังช่วยพยุง และลดแรงกดลงบนข้อ ได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

โยคะสำหรับสาวออฟฟิศ

ข้อควรระวัง ในการเล่นโยคะ

 



บทความที่น่าสนใจ

ทัศนคติ ที่ผิดเกี่ยวกับ โยคะ
การเลือกเวลาเล่น โยคะ ให้ดีต่อ สุขภาพ