โยคะกับผู้สูงอายุ ก็ฝึกได้ ดีต่อร่างกาย

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะกับผู้สูงอายุ ก็ฝึกได้ ดีต่อร่างกาย



การฝึก โยคะกับผู้สูงอายุ ก็ฝึกได้ ดีต่อร่างกาย ถือเป็น การออกกำลังกาย ด้วยท่าทาง ของโยคะ ที่เชื่อมโยงกัน ระหว่างร่างกาย อารมณ์ สมาธิ และข้อวรระวังของ ผู้สูงอายุ ก่อนฝึกโยคะ เพื่อความปลอดภัยและไม่อันตราย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอีกด้วยค่ะ

 

 

 

โยคะ ( Yoga ) ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้เพียงรับ ความนิยม จากกลุ่ม ของคนทำงาน เพียงเท่านั้น แต่ในวัยผู้สูงอายุ ก็ได้รับความนิยมเช่นกันค่ะ เพราะ ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย ที่มีความปลอดภัย

 

แต่ก่อนที่ ผู้สูงอายุ จะทำการฝึก โยคะ ( Yoga ) ควรระมัดระวัง และดูข้อห้ามเหล่านี้ ควบคู่ไปด้วยค่ะ จะมีข้อควรรู้อะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

 

1. ปรึกษาแพทย์ ก่อนทำ โยคะ

ก่อนอื่นเลยนั้น สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาในเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน, ความดัน, โรคหัวใจ, โรคไต หรือมีโรคต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้อง ได้รับการดูแล เป็นพิเศษนั้น จำเป็นต้องทานยา อย่างต่อเนื่อง ก่อนการฝึกโยคะ แนะนำว่าควรปรึกษา กับแพทย์เฉพาะด้าน หรือปรึกษา แพทย์ประจำโรคก่อน นั่นเพราะ แพทย์จะรู้ดีว่า การออกกำลังกาย ในรูปแบบใด ที่มีความเหมาะสม ต่อคนไข้ ของตนเอง ไม่ควรรีบออกกำลังกายทันที โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจก่อให้เกิด อันตราย ต่อสุขภาพ และชีวิตได้นะคะ

 

2. หากเหนื่อย ต้องพัก ห้ามฝืน

เมื่อเริ่มฝึก โยคะ แล้วรู้สึก เหนื่อยหอบ มีอาการ ผิดปกติ รวมไปถึง อาการเหนื่อย ก่อนการเริ่มฝึกแล้วนั้น ควรหยุด การฝึกโยคะ ในทันที ไม่ควรฝืน ที่จะทำต่อไปเด็ดขาด ไม่เช่นนั้น อาจเกิดปัญหาใหญ่ ตามมาได้ เพราะ โรคของผู้สูงอายุ บางโรค อาจจะกำเริบขึ้น ในระหว่าง การออกกำลังกายได้เสมอค่ะ

 

3. ทำเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ

เมื่อได้ท่า ฝึก โยคะ ที่เหมาะสมแล้ว หลังจาก ปรึกษาแพทย์ และได้รับอนุญาต ให้ออกกำลังด้วย โยคะได้แล้ว สิ่งต่อมา ที่ควรทำ คือ ควรออกกำลัง ด้วยโยคะ เป็นประจำ และ มีความสม่ำเสมอ ด้วยการออก โยคะ สัปดาห์ละ ประมาณ 3 - 5 วัน เพื่อเป็นการเพิ่ม ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เพิ่มความคล่องตัว และ ทำให้สุขภาพ มีความแข็งแรง แข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้ ก็ควรวอร์มร่างกายก่อน เพื่อทำให้ เกิดความพร้อม ต่อร่างกาย ในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น สำหรับในการวอร์มนั้น ควรอยู่ที่ประมาณ 5 - 10 นาที เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บ และ ช่วยทำให้ในการออกท่าทาง โยคะ ( Yoga ) มีประสิทธิภาพ อย่างมากขึ้นด้วยค่ะ

 

4. เลือกท่า ที่เหมาะสม

เมื่อเริ่มฝึกฝน โยคะ จนเกิดความชำนาญ หรือ สามารถ ที่จะออกกำลังกาย ได้ด้วยตัวเองแล้ว ควรเลือก ท่าทาง ที่เหมาะสม ต่อผู้สูงอายุ เท่านั้น ไม่ควรเลือกท่า ที่ผาดโผน หรือ เสี่ยงต่ออันตราย มากจนเกินไป เพราะ อาจจะส่งผลกระทบ ในเรื่องของ กระดูก และ ข้อต่อต่าง ๆ โดยให้เลือกท่า ที่สามารถเชื่อมโยง ระหว่างร่างกาย กับ สมาธิ ได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

5. ฝึกฝน อย่างปลอดภัย

การฝึกฝน โยคะ ( Yoga ) ในช่วงเริ่มต้น ของผู้สูงอายุ ต้องเป็นไป อย่างปลอดภัย และจำเป็นต้องมีครู ผู้ฝึกสอน ท่าโยคะ อยู่ใกล้ตัวเสมอ เพราะว่า จะสามารถช่วย ให้คำแนะนำ ที่เกิดความถูกต้อง และ จัดท่าทาง ที่เหมาะสม ต่อผู้สูงอายุ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยป้องกัน อาการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ค่ะ

 

การฝึก โยคะ ( Yoga ) แม้ว่า จะมีความปลอดภัย ต่อทุกเพศ และทุกวัย แต่ทั้งนี้ผู้สูงอายุ จะมีร่างกายที่ค่อนข้างอ่อนแอกว่า คนในวัยอื่น ๆ รวมไปถึง การมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง การออกกำลังด้วย โยคะที่อาจจะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ และส่งผลต่อสุขภาพได้ง่าย ทางที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาแพทย์ และเลือกใช้บริการครูฝึก ที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

คุณแม่มือใหม่เล่น โยคะเพื่อสุขภาพก่อนคลอด และ หลังคลอด

โยคะสำหรับเด็ก ปลูกฝังสติและการรับรู้ของร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย



บทความที่น่าสนใจ

เรื่องที่ควรรู้ ก่อนเริ่มเล่น โยคะ ( Yoga ) เพื่อสุขภาพที่ดี
โยคะลูกแรกเกิด สุขภาพดี เพิ่มความคล่องตัวให้ลูกน้อย