โยคะ ( Yoga ) ปรับบุคลิกภาพ พร้อมแก้หลังค่อม

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะ ( Yoga ) ปรับบุคลิกภาพ พร้อมแก้หลังค่อม



หลายคนมีอาการหลังค่อมโดยไม่รู้ตัวทั่งท่านั่งและท่ายืน โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจเผลอนั่งหลังค่อมกันบ่อยๆ ถ้าไม่อยากเสียบุคลิกภาพลองมาฝึก โยคะ ( Yoga ) กันเถอะ

 

การมีบุคลิกภาพที่ดี สามารถเพิ่มความมั่นใจให้เราได้ แค่การมี ท่าทาง ( Posture ) ที่ดี เช่นการยืน นั่ง หรือเดินหลังตรง ก็สามารถซ่อนหน้าท้อง พุงยื่นๆ และดูไม่หลังค่อมได้โดยไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนักหรือลดไขมัน เรามาทำความรู้จักรู้จักกับท่า โยคะ ( Yoga ) ที่ช่วยในการปรับบุคลิกภาพของเราให้ดีขึ้นกัน โดยท่าต่างๆนั้นจะช่วยยืดและเปิดบริเวณไหล่ หน้าอก ออก อีกทั้งยังช่วยยืดกระดูกสันหลังให้เหยียดยาวได้อีกด้วย

 

โยคะ ( Yoga ) ท่าที่ 1 Camel Pose

 

โยคะ ( Yoga ) ท่านี้ช่วยแก้ท้องยื่น แก้หลังค่อม แถมยังช่วยลดหน้าท้องได้อีกด้วย โดยการทำมีดังนี้

1.ตั้งเข่า วางเท้าและเข่าห่างกันพอประมาณ มือเท้าเอว

2.เอนไปด้านหลัง เปิดหน้าอก ใช้ต้นขาต้านไปด้านหน้า ค่อยๆใช้มือจับส้นเท้า และโค้งตัวตาม ค้างไว้ หายใจเข้า-ออกลึกๆ 5 ครั้ง

3.กลับสู่ท่าเริ่มต้น ค่อยๆยกศีรษะ หน้าอกและหลังขึ้นตามลำดับ พักด้วยการนั่งคุกเข่าทับส้นเท้า หรือจะพักด้วยทำท่าเด็กก็ได้

 

โยคะ ( Yoga ) ท่าที่ 2 Bow Pose

 

โยคะ ( Yoga ) ท่านี้ช่วยยืดกระดูกสันหลัง แก้หลังค่อม และช่วยยืดขาอีกด้วย โดยการทำมีดังนี้

1.นอนคว่ำ

2.ยกลำตัวด้านบน และขาขึ้น

3.มือทั้งสองข้างเหยียดไปด้านหลัง จับเท้าไว้ ค้างไว้ 5 ลมหายใจเข้าออก

 

โยคะ ( Yoga ) ท่าที่ 3 Superman

 

โยคะ ( Yoga ) ท่านี้ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งแกนกลางลำตัว ทำให้หลังไม่ค่อม และลดหน้าท้องได้ดี โดยการทำมีดังนี้

1.นอนคว่ำหน้าพร้อมเหยียดแขนและขาตรง หน้าผากแตะพื้น

2.ยกตัวขึ้นโดยให้แขน ขาและหน้าอกลอย (ไม่เงยหน้า) ทำค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง

 

โยคะ ( Yoga ) ท่าที่ 4 Cobra Stretch

 

โยคะ ( Yoga ) ท่านี้ช่วยยืดกระดูกสันหลัง เพิ่มความแข็งแกร่งแกนกลางลำตัว และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หน้าท้องแบนราบ โดยการทำมีดังนี้

1.นอนคว่ำ วางฝ่ามือแนบข้างลำตัว งอข้อศอก

2.เหยียดแขนขึ้น ยกลำตัวช่วงบนขึ้นจากพื้น

3.แหงนหน้าขึ้น เปิดอก เปิดไหล่ หายใจเข้า-ออก 5 ลมหายใจ แล้วจึงกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 3 เซ็ต

 

โยคะ ( Yoga ) ท่าที่ 5 Stretch Hamstrings

 

โยคะ ( Yoga ) ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อขาและกระดูกสันหลัง เพิ่มความอ่อนตัว และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการทำมีดังนี้

1.นั่งหลังตรง ขาทั้งสองข้างเหยียดไปด้านหน้า

2.ก้มตัวลงมือทั้งสองข้างจับที่ปลายเท้า ค้างไว้ 5 ลมหายใจเข้าออก

 

โรคที่ตามมาจากอาการหลังค่อม

 

อาการหลังค่อม ไหล่ห่อ ไม่เพียงแต่ทำให้เราเสียบุคลิกภาพที่ดีเท่านั้น แต่ยังอาจก่อโรคได้อย่างคาดไม่ถึงเลย ทั้งอาการปวดหลัง ท้องผูก อ้วนลงพุง หรือแม้กระทั่งอาการเศร้า ๆ นอกจากนี้มาดูกันว่า อาการหลังค่อมสามารถก่อโรคอะไรได้อีกบ้าง

 

1.ปวดหลัง

การยืนหรือนั่งหลังค่อมจะทำให้กระดูกสันหลังขดงอ ผิดรูป ซึ่งแรก ๆ กระดูกอาจไม่ได้รับผลกระทบอะไร แต่เมื่อนั่งหลังค่อมหรือยืนหลังค่อมติดเป็นนิสัย อาจทำให้กระดูกสึกกร่อนได้ง่ายขึ้น และการที่กระดูกอยู่ผิดรูปเป็นประจำ ก็จะทำให้รู้สึกปวดหลังขึ้นมาได้

 

2. ท้องผูก

นอกจากจะทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปแล้ว การนั่งหลังค่อมยังเป็นต้นเหตุให้ลำไส้คดโค้งเกินความจำเป็น จนน้ำและการไหลเวียนอาหารในระบบลำไส้เกิดความติดขัด ซึ่งอาจก่ออาการท้องผูกตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอยู่แล้ว ฉะนั้นหากไม่อยากทรมานกับอาการท้องผูก แนะนำให้ยืดหลังตรง ๆ เข้าไว้

 

3. ท้องอืด ท้องเฟ้อ

เมื่อเรานั่งหลังค่อม งอช่วงลำตัว จนลำไส้ทำงานได้ไม่สะดวก ก็อย่างที่บอกว่าระบบลำไส้ การย่อยอาหาร การขับถ่าย อาจแปรปรวนไปด้วยได้ ฉะนั้นหากคนนั่งหลังค่อมจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อบ้างก็คงรู้แล้วใช่ไหมว่าเพราะอะไร

 

4.โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก

อีกหนึ่งโรคที่มีสาเหตุจากระบบประสาทซิมพาเทติกมีการตอบสนองที่ผิดปกติต่อร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยถูกกระตุ้นต่อสิ่งเร้า ต่าง ๆ ได้ง่าย จนก่อให้เกิดอาการตื่นตระหนก หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก และหายใจไม่ออก ซึ่งอย่าลืมนะคะว่า ภาวะระบบประสาทซิมพาเทติกผิดเพี้ยนอย่างนี้ การนั่งหลังค่อมก็มีส่วนอยู่ไม่น้อย

 

5. โรคซึมเศร้า

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การจัดเรียงกล้ามเนื้อให้เป็นระเบียบสามารถส่งผลต่อความรู้สึกของเราได้ ย้ำด้วยการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Health Psychology ที่ระบุชัดเลยว่าแค่มีบุคลิกภาพที่ดี นั่งหลังตรง ไม่หลังค่อมก็ช่วยลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้แล้ว เนื่องจากการนั่งหลังค่อมจะทำให้ร่างกายไม่แอ็คทีฟ แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และหมดแรง ซึ่งภาวะนี้ทางหลักจิตวิทยาก็ชี้ชัดว่าสามารถส่งต่อไปถึงอารมณ์ความรู้สึกของเราให้รู้สึกเฟล ๆ เศร้า ๆ ได้ด้วย

 

6. โรคอ่อนเพลีย

ถ้าพูดถึงโรคอ่อนเพลียกับการนั่งหลังค่อม ก็ต้องขอย้อนกลับมาที่ระบบประสาทซิมพาเทติก เพราะเจ้าระบบประสาทอัตโนมัติตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ และการหลั่งอะดรีนาลินของร่างกาย ซึ่งก็แปลได้ว่า เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกมีความผิดปกติจากการนั่งหลังค่อม อะดรีนาลินที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความกระชุ่มกระชวยก็จะถูกหลั่งออกมาน้อยลง พาให้เรารู้สึกซึม ๆ ง่วง ๆ อ่อนเพลียมากผิดปกตินั่นเอง

 

7. เป็นสิวและปัญหาผิวหนังอื่น ๆ

การนั่งหลังค่อมจะทำให้ระบบประสาทและการไหลเวียนของเลือดไม่คล่องตัว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกหากคนที่นั่งหลังค่อมจะเป็นสิวได้ง่าย หรือต้องเจอกับปัญหาสุขภาพผิวหนังบ่อยกว่าคนที่มีบุคลิกภาพดี เพราะเมื่อระบบเลือดไหลเวียนไม่สะดวก การขับถ่ายของเสียที่คั่งค้างอยู่ภายใต้ผิวหนังก็จะติดขัด ก่อให้เกิดสิว ริ้วรอย และรอยแดงตามผิวหนังได้

 

8. ภูมิแพ้ไวเกิน ( hypersensitivities )

อาการภูมิแพ้ไวเกินคือภาวะที่ผู้ป่วยแพ้ได้แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเลยสักนิด ซึ่งโรคนี้อาจมีสาเหตุแรกเริ่มจากการนั่งหลังค่อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากการนั่งหลังค่อมอาจทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ อันประกอบไปด้วยเส้นประสาทไขสันหลังเกิดภาวะไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ หรือมีการตอบสนองที่ผิดปกติต่อสารส่งผ่านประสาท จนทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ไวเกินได้ง่ายขึ้น

 

9. มีพุง

ปัญหาระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย อาจเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เรามีพุงได้เหมือนกันนะคะ ดังนั้นนอกจากจะดีท็อกซ์เพื่อหน้าท้องที่ปราศจากพุงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่แก้ได้ง่าย ๆ คือเลิกนั่งหลังค่อมแค่นั้นเอง

 

สุดท้ายนี้ การนั่งหลังค่อมอาจไม่ใช่บุคลิกส่วนตัวเพียงอย่างเดียว แต่จังหวะเผลอ ๆ อย่างการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการนั่งเล่นสมาร์ทโฟนก็อาจเปิดโอกาสให้เรานั่งหลังค่อมได้โดยที่ไม่ทันได้รู้ตัว ดังนั้นหากรู้สึกว่าหลังไม่ตรงเมื่อไร ก็ควรรีบยืดตัวขึ้นทันที

 

ขอบคุณข้อมูลจาก women.trueid

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

-เลือกเสื่อโยคะให้เหมาะกับตัวคุณ

-สิ่งที่ได้รับจากการเล่นโยคะ (Benefits of YOGA)



บทความที่น่าสนใจ

ฝึกโยคะ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
4 ข้อดีการเล่นของโยคะ ในผู้สูงอายุ