ประโยชน์ดี ๆ จาก โยคะ ( Yoga )

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

ประโยชน์ดี ๆ จาก โยคะ ( Yoga )



การฝึก โยคะ ( Yoga ) อย่างสม่ำเสมอให้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพกาย และจิตใจ บางคนพบว่ามีความยืดหยุ่นตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และยังทำให้จิตใจสงบ และผ่อนคลายความเครียด ทำให้ผู้ฝึกรู้สึกเป็นสุข สบาย

 

     การออกกำลังกายด้วย โยคะ ( Yoga ) นับว่าเป็นการยืดเส้นยืดสาย หรือบริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องอาศัยลมหายใจ และสมาธิเข้ามามีส่วนประกอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุด ถ้าหากเราไม่เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มเล่นอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ มาดูพร้อมดีกว่าว่าก่อนเล่น โยคะ ( Yoga ) ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ก่อนเริ่มเล่น โยคะ ( Yoga ) ควรคำนวณให้ดีก่อนว่าเรารับประทานอาหารผ่านมาเป็นเวลา 1 - 2 ชั่วโมงแล้วหรือยัง และขึ้นอยู่กับอาหารที่ทานด้วยว่าเป็นอาหารหนักหรืออาหารเบา เพราะอาหารก็เปรียบได้กับยาพิษที่อาจทำให้เกิดโทษในภายหลังที่เริ่มเล่นได้
  • ช่วงเช้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเล่น โยคะ ( Yoga ) มากที่สุด หรือถ้าช่วงเช้าไม่สะดวกก็อาจเป็นช่วงบ่ายค่อนไปจนถึงช่วงเย็นเลยก็ได้
  • สถานที่ที่เหมาะสำหรับการเล่น โยคะ ( Yoga ) ต้องมีลมโกรก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป
  • แต่งกายให้สะดวกกับการเล่น โยคะ ( Yoga ) เพราะเครื่องแต่งกายขณะเล่นก็มีความสำคัญ เน้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
  • พื้นที่ในขณะที่เล่น หากว่าพื้นไม่ได้ปูพรมต้องมีที่หนาพอสมควรปูรองแทน อาจใช้เป็นผ้าห่มปูรองรับร่างกายในขณะที่เล่นทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ อาการปวดหลัง หัวเข่า หรือในบางท่านที่มีความจำเป็นต้องใช้ผ้าปูรอง
  • การเล่น โยคะ ( Yoga ) เป็นอะไรที่ต้องใช้การหายใจ และสมาธิเข้ามาเป็นตัวกำหนดขณะเล่น ฉะนั้นแนะนำให้ปฏิบัติท่าต่าง ๆ อย่างช้า ๆ และนุ่มนวล
  • ระหว่างที่ทำท่า โยคะ ( Yoga ) ต่าง ๆ เสร็จแล้ว แนะนำให้นอนพักสักระยะก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติในท่าต่อไป
  • ขณะที่เล่นต้องหายใจอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่เกร็งกล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ ไม่ทำจมูกบี้ และต้องไม่มีเสียงดังอีกด้วย
  • สำหรับสาว ๆ คนไหนที่มีวัยตั้งแต่เลข 4 ขึ้นไป ขอเน้นย้ำเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ควรหักโหม ควรปฏิบัติด้วยความใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป

 

          ประโยชน์ของ โยคะ ( Yoga )

1. ความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น

     การเคลื่อนไหว และการยืดในแบบใหม่ ๆ จะทำให้คุณมีความยืดหยุ่นตัวมากขึ้น ทำให้เคลื่อนไหวบริเวณที่ติดได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปจะมีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโคนขาทางด้านหลัง ( hamstrings ) หลัง ไหล่ และสะโพก เมื่อเราอายุมากขึ้นความยืดหยุ่นตัวของเราจะลดลง โดยเฉพาะเมื่อคุณใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอาการข้อติด ซึ่งโยคะจะช่วยลดกระบวนการเหล่านี้ได้

2. ทำให้เกิดความแข็งแรง

     โยคะ ( Yoga ) หลายท่าทำให้คุณต้องถ่ายเทน้ำหนักร่างกายในวิธีใหม่ ๆ รวมถึงการทรงตัวบนขาข้างเดียว หรือการค้ำยันตัวเองไว้ด้วยแขน การทำท่าเหล่านี้โดยหายใจเป็นระยะจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้

3. เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

     คุณจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ( muscle tone ) มากขึ้น ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการที่แข็งแรงขึ้น โยคะ ( Yoga ) ช่วยให้มีกล้ามเนื้อที่ยาว และพอเหมาะของขา แขน หลัง และท้อง

4. มีสมดุลที่ดีขึ้น

     การมีสมดุลที่ดีขึ้นเป็นหนึ่งในผลประโยชน์สำคัญที่คุณได้จาก โยคะ ( Yoga ) เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ท่าที่คุณต้องยืนบนขาข้างเดียว และท่ากลับหัวสำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว ก็เป็นวิธีที่ดีที่จะสร้างความแข็งแรงจากแก่นกลางที่จะช่วยให้ลำตัวของคุณตั้งตรง

5. ช่วยด้านสุขภาพของข้อ

     การเคลื่อนไหวที่จำเป็นสำหรับ โยคะ ( Yoga ) นั้นไม่หนักมาก ทำให้คุณใช้ข้อของคุณได้โดยไม่ทำให้บาดเจ็บ  โยคะ ( Yoga ) ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อจึงทำให้ลดภาระต่อข้อได้ ผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบมักพบว่าอาการปวดดีขึ้นมาก และเคลื่อนไหวได้มากขึ้นหลังจากการฝึก โยคะ ( Yoga ) เบา ๆ สม่ำเสมอ

6. ป้องกันอาการปวดหลัง

     ความยืดหยุ่นตัว และความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นสามารถป้องกันสาเหตุบางอย่างของอาการปวดหลังได้ หลายคนที่มีอาการปวดหลังใช้เวลามากไปกับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือขับรถ ซึ่งทำให้เกิดความตึงของร่างกาย และกดกระดูกสันหลัง ซึ่ง โยคะ ( Yoga ) ช่วยต้านภาวะเหล่านั้นได้

7. สอนให้หายใจได้ดีขึ้น

     พวกเราส่วนใหญ่จะหายใจตื้น ๆ และไม่ค่อยสนใจวิธีการหายใจ การฝึกหายใจของ โยคะ ( Yoga ) ที่เรียกว่าปราณยามะ ซึ่งจะมุ่งความสนใจไปที่การหายใจ และสอนว่าเราจะหายใจให้ลึกขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายของเรา การหายใจบางอย่างยังช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และทำให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ซึ่งมีประโยชน์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจไม่ว่าจะเป็นขณะกำลังฝึก หรือนอกเวลา

8. ทำให้จิตใจสงบ

     โยคะ ( Yoga ) อาสนะ ( ท่าฝึกโยคะทางกายบริหาร ) เน้นทางกายเป็นหลัก การมุ่งความสนใจหลัก ๆ ไปยังสิ่งที่ร่างกายกำลังทำอยู่มีผลให้จิตใจของคุณสงบลง โยคะ ( Yoga ) ยังช่วยให้คุณได้รู้จักกับเทคนิคการทำสมาธิ เช่น จะทำอย่างไรให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจโดยเป็นอิสระจากความคิด ทักษะเหล่านี้ถูกพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ในสถานการณ์ที่เคร่งเครียด เช่น การคลอดบุตร นอนไม่หลับ หรือแม้ขณะทำลังมีภาวะโรควิตกกังวลกำเริบ

9. ลดความเครียด

     การออกกำลังเป็นวิธีคลายเครียดที่ดี ซึ่งเป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ โยคะ ( Yoga ) เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สมาธิปัญหาต่าง ๆ ที่รบกวนคุณในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ก็มักจะมลายหายไปในขณะฝึก ซึ่งนี่ถือเป็นการพักผ่อนจากสิ่งกระตุ้นความเครียด เช่นเดียวกับที่ช่วยเรื่องทัศนคติต่อปัญหาของคุณ ความสำคัญที่ โยคะ ( Yoga ) มุ่งกับปัจจุบันสามารถช่วยให้คุณไม่จมอยู่กับอดีต หรือคาดหวังกับอนาคต คุณจะออกจากชั้นเรียน โยคะ ( Yoga ) ด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลายมากกว่าก่อนที่จะเริ่ม

10. เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง

     การฝึก โยคะ ( Yoga ) เพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณตระหนักรู้ถึงร่างกายของตนเองมากขึ้น ระหว่างฝึกคุณจะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับท่าทางของคุณให้ดีขึ้น ทำให้คุณรู้จักร่างกายของคุณดีขึ้น คุณจะเรียนรู้ที่จะยอมรับร่างกายของคุณอย่างที่เป็นโดยไม่ไปตัดสินมัน เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกเป็นสุขกับร่างกายของคุณมากขึ้น ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

คนท้องก็ต้องการ โยคะ ( Yoga )

โยคะ ( Yoga ) นั้นมี กี่ประเภท



บทความที่น่าสนใจ

ทำไมโยคะ ถึงเป็นที่นิยม
แนะนำ 5 ท่าโยคะ เล่นแล้วแก้ปวดหลัง ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ มีท่าไหนกันบ้าง ไปดูกัน!



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: