โยคะ ( YOGA ) แบ่งออกเป็นกี่สาย

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะ ( YOGA ) แบ่งออกเป็นกี่สาย



ใครที่อยากออกกำลังกาย หรืออยากจะเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก โยคะ ( YOGA ) เป็นแน่ โยคะ ( YOGA ) เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้ร่างกายกระชับ เลือดลมไหลเวียนดี แต่ก็แบ่งออกมาได้หลายสายเช่นกัน

 

     โยคะ ( YOGA ) หมายถึง การรวมกาย จิต และวิญญาณ ให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึก โยคะ ( YOGA ) เป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก พัฒนาจิต โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่ง และบริหารจิตให้เข้มแข็งจนถึงขั้นยกระดับจิตให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

     การพัฒนาความสมดุล ทั้งสมดุลต่อตัวเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งแวดล้อม การรวมกาย และจิตเข้าด้วยกัน  อันจะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น ในแง่ปฏิบัติต้องรวมสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ การประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และมีจิตสงบนิ่งในขณะที่เคลื่อนไหว

 

          ประเภทของ โยคะ ( YOGA )

1. หฐโยคะ ( Hatha Yoga )

     หฐ มากจากคำ 2 คำ หะ หมายถึงพลังเย็น ( พลังลบ ) ส่วน ฐะ หมายถึงพลังร้อน ( พลังบวก ) โยคะ หมายถึง การรวมตัวกัน ดังนั้น หฐโยคะ ( Hatha Yoga ) ก็คือ การใช้ศิลปะในการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ

     เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังด้านบวก และด้านลบ ให้จิตใจและร่างกายทำหน้าที่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยการฝึกจะเน้นการหายใจ ความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายมากกว่ามุ่งสร้างความแข็งแรง สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึก โยคะ ( YOGA ) มาก่อนก็สามารถฝึกได้เช่นกัน

2. วินยาสะ ( Vinyasa Yoga )

     วินยาสะ โยคะ ( Vinyasa Yoga ) เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ลมหายใจประกอบกับการเคลื่อนไหว ซึ่งการฝึกแบบวินยาสะนั้น จะมีการเคลื่อนไหวช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกำหนดลมหายใจอย่างเป็นระบบ ทุกการเคลื่อนไหวจากท่าหนึ่ง ไปสู่อีกท่าหนึ่งจะสอดประสานด้วยลมหายใจ ช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแรง และความนุ่มนวลไปในคราวเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีรูปร่างกระชับ ร่างกายแข็งแรง ลดน้ำหนัก ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ทั้งยังช่วยลดความเครียด ฝึกจิตใจให้สงบ มั่นคง และแน่วแน่ ช่วยให้เกิดสมาธิ

3. อัษฎางค์ โยคะ ( Ashtanga Yoga )

     อัษฎางค์ โยคะ ( Ashtanga Yoga ) เหมาะสำหรับคนชอบเล่นท่ายาก เพราะเป็นการฝึกกระบวนท่าที่ใช้ร่างกาย ลมหายใจ  และดริชตี้ ( การกำหนดจุดมองของสายตา ) มารวมกันให้เกิดการเชื่อมต่อภายในจนเกิดการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวพร้อมควบคุมลมหายใจก็เป็นจุดเด่นที่ต้องทำตลอดการฝึกค่ะ อัษฎางค์ โยคะ ( Ashtanga Yoga ) กับ วินยาสะ โยคะ ( Vinyasa Yoga ) เป็นสองอย่างที่มีความคล้ายคลึงกันมาก คือจะมีความลื่นไหลต่อเนื่องของท่วงท่า แตกต่างกันที่ อัษฎางค์ โยคะ ( Ashtanga Yoga ) จะมีเซทของท่าที่เหมือนเดิม แต่ วินยาสะ โยคะ ( Vinyasa Yoga ) จะมีการเปลี่ยนแปลงเซทของท่าไปเรื่อย ๆ

4. อนุสรา โยคะ ( Anusara Yoga )

     อนุสรา โยคะ ( Anusara Yoga ) คือ การเรียนหฐโยคะ ( Hatha-Yoga ) ให้ลึกซึ้งขึ้นในรูปแบบที่แตกต่าง ในวิธีการสอนของแก่นสารเนื้อหาความสำคัญ

     สำหรับ อนุสราโยคะ ( Anusara Yoga ) เป็นการฝึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือความสามารถในการบำบัดรักษาโรค จากจิตใจออกสู่ร่างกาย โดยการแนะนำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ช่วยตัวเองอย่างเต็มความสามารถ  และได้ใช้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งจิตใจ หัวใจ ในการฝึกปฏิบัติทุกท่วงท่า จุดมุ่งหมายของ อนุสราโยคะ ( Anusara Yoga ) คือการพัฒนาจิตใจ และความมุ่งมั่น ไปพร้อมกัน

5. โยคะร้อน ( Bikram Yoga )

     โยคะ ( YOGA ) เป็น โยคะ อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า โยคะร้อน ( Bikram Yoga ) ก็เพราะว่าเป็นการฝึก โยคะ ( YOGA ) ในห้องที่มีอุณหภูมิสูง ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย คือประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส  ความแตกต่างก็คือ ทำให้กล้ามเนื้อของเราสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม และท่าต่าง ๆ ของ โยคะร้อน ( Bikram Yoga ) ยังสามารถช่วยกระชับกล้ามเนื้อทุกส่วนสัดของร่างกายได้มากขึ้น ช่วยกำจัดของเสียให้ออกมาในรูปแบบของเหงื่อ ลดความอ้วน ลดปัญหาการปวดหลัง ปวดคอ แถมยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

6. ไอเยนคาร์โยคะ ( Iyengar Yoga )

เป็น โยคะ ( YOGA ) ที่คิดค้นขึ้นโดย บี. เค. เอส. ไอเยนการ์ ( B.K.S.Iyengar ) เป็น โยคะ ( YOGA ) ที่เน้นในเรื่องการจัดท่า การจัดแนวการกระจายนํ้าหนักผ่านแขน ขา และกระดูกสันหลัง อย่างถูกต้องเหมาะสม ( Alignment ) เพื่อให้ผู้ฝึกได้ประโยชน์จากท่าต่าง ๆ และฝึกด้วยความปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการฝึก เช่น เข็มขัดโยคะ ผนังห้อง เก้าอี้ หมอนรอง เป็นต้น และเป็น โยคะ ( YOGA ) พื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความอ่อนตัวมากนัก เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึก โยคะ ( YOGA )

7. กฤปาลูโยคะ ( kripalu Yoga )

     เป็น โยคะ ( YOGA ) แบบเคลื่อนไหวที่เน้นสมาธิมากพอกับการปฏิบัติอาสนะ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านร่างกาย หรือผู้ที่สนใจการทำสมาธิ เรียนรู้ และทำสมาธิจากร่างกายของตัวเอง

8. พรีเนทัลโยคะ ( Prenatal Yoga )

     เป็น โยคะ ( YOGA ) ที่มีการปรับท่าทางให้เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ เป็นท่า โยคะ ( YOGA ) ก่อนคลอด ที่จะทำให้คุณแม่แข็งแรงทั้งตอนก่อนคลอด และหลังคลอดคุณแม่ได้ผ่อนคลายทั้งร่างกาย และจิตใจ ลดความปวดเมื่อย ตึง ล้า จัดระเบียบสรีระที่ถูกต้องในระหว่างที่ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ลดปัญหาในระยะหลังคลอด เช่น อาการปวดหลัง หลังคด ปวดคอ ปวดข้อเท้า

9. เรสโตเรทีฟ โยคะ ( Restorative Yoga )

     โยคะ ( YOGA ) ฟื้นฟู ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องป่วย หรือบาดเจ็บแต่อาจต้องการฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจหลัง จากทำงานหนัก หรือเครียดจัด “เรสโตเรทีฟ โยคะ ( Restorative Yoga )” จะอยู่ในท่าแต่ละท่านานประมาณ 10-15นาที นึกถึง Yin yoga ที่สบายยิ่งกว่า บวกอุปกรณ์หมอน เชือก block ผ้าห่ม เก้าอี้ สารพัดสิ่ง ความรู้สึกจะเหมือนนอนสบาย มีคนมีคอยกล่อม

10. หยินโยคะ ( Yin Yoga )

     การฝึก หยินโยคะ ( Yin Yoga ) นั้น จุดเด่นคือ ความนิ่ง และการค้างท่า จะเน้นการยืดเหยียดในระดับลึกของร่างกายจนถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไปที่ข้อต่อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้มีการยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ร่วมกับการรักษาสมาธิขณะเล่น เพราะท่าการฝึกแบบหยินนั้น จะมีการค้างท่าเป็นเวลา 3-5 นาที ( นานมาก ) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

โยคะ ( Yoga ) ยืดเส้น จัดกระดูก

โยคะ ( Yoga ) บำบัดโรคซึมเศร้า



บทความที่น่าสนใจ

โยคะ ( Yoga ) บรรเทา อาการปวดหัว นั่นเอง
ท่าโยคะ ( Yoga ) ช่วยไหลเวียนเลือด ให้กับสมอง