สิ่งที่ควรรู้ในการฝึก โยคะ สำหรับคนท้อง

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

สิ่งที่ควรรู้ในการฝึก โยคะ สำหรับคนท้อง



ทำไม โยคะ (Yoga) จึงเป็นสิ่งที่คุณควรฝึกในระหว่างตั้งครรภ์ ก็เพราะช่วยฝึกการหายใจ ฝึกสมาธิให้คุณแม่กับลูกน้อย รวมถึงสร้างความแข็งแรงให้กับลูกน้อยในท้องกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

 

กฎเบื้องต้นสำหรับการฝึก โยคะ (Yoga) ในระหว่างตั้งครรภ์

 

หากคุณไม่เคยฝึก โยคะ (Yoga) มาก่อน หรือมีประสบการณ์น้อยมากก่อนการตั้งครรภ์ คุณควรฝึกโยคะ (Yoga) ก่อนคลอดเท่านั้นขณะตั้งครรภ์

หากคุณเคยฝึก โยคะ (Yoga) มาอย่างเชี่ยวชาญแล้ว ก่อนการตั้งครรภ์ คุณอาจฝึกซ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการปรับเปลี่ยนหลังจากที่คุณตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก เพื่อให้เหมาะสมและปลอดภัย

 

โยคะ (Yoga) คนท้อง ไตรมาส 1 (0 ถึง 13 สัปดาห์)

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงหลายคนมีความรู้สึก และอารมณ์แตกต่างกันไป อาจมีความสุขมากพอๆ กับความรู้สึกไม่สบายมากๆ ผู้หญิงส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้และเมื่อยล้า จากการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา และกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณแม่ทั้งหลาย แม้พวกเขาอาจดูเหมือนไม่ได้ตั้งครรภ์เลยก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ให้คำแนะนำกับการเริ่มต้นฝึก โยคะ (Yoga) ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ว่าควรเป็นไปอย่างระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงการฝังตัวของทารกในครรภ์ และห้ามฝึกท่าที่เป็นอันตรายในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นท่ากลับหัวต่างๆ ท่าบิดตัว หรือท่าที่ต้องกระโดดในช่วงไตรมาสแรก ใช้การก้าวถอยหลังแทนการกระโดด สิ่งสำคัญคืออย่าทำให้ร่างกายถูกการกระทบกระเทือนในช่วงการฝังตัวของทารกในครรภ์

 

โยคะ (Yoga) คนท้อง ไตรมาส 2 (14 ถึง 28 สัปดาห์)

ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มฝึก โยคะ (Yoga) ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ บ่อยครั้งที่เราได้ยินว่าพวกเขารู้สึกดีมากที่ได้ฝึก โยคะ (Yoga) คนท้องในไตรมาสที่สองนี้ เนื่องจากร่างกายของพวกเขาไม่ใหญ่เกินไปและสามารถทำอะไรก็ได้ที่พวกเขารู้สึกอยากจะทำ ในช่วงเวลานี้ผู้หญิงอาจรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ส่วนใหญ่จะรู้สึกอยากกินอาหารมากขึ้น การตั้งครรภ์เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ปริมาณของเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เลือดไหลเวียนได้เร็วขึ้น อัตราการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นด้วย นั้นหมายถึงคุณกำลังใช้น้ำตาลในร่างกายได้เร็วขึ้น ดังนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบการเผาผลาญอาหารของคุณที่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่ทั้งหลายควรกินอาหารว่าง หรือขนมขบเคี้ยวประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนเรียน ดื่มน้ำให้มากพอในแต่ละวัน และไม่กดดันตัวเอง รวมทั้งเพิ่มปริมาณโปรตีนให้เจ้าตัวน้อยในครรภ์ และร่างกายของคุณ ให้มั่นใจว่าถึง 60 กรัมต่อวันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่

 

โยคะ (Yoga) คนท้อง ไตรมาส 3 (29 ถึง 40 สัปดาห์)

ตอนนี้ร่างกายของคุณเปลี่ยนไปจริงๆ การเคลื่อนไหวของทารกมีความแข็งแรงขึ้นมากๆ แต่การเคลื่อนไหวและการหายใจของคุณแม่อาจเป็นเรื่องยาก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และท้องที่ยื่นออกมาของคุณแม่ทั้งหลายน่าจะท้าทายการทรงตัวของคุณในทุกๆ ท่าโยคะ (Yoga)  ดังนั้นคุณต้องมีอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น บล็อกโยคะ โฟมโรลเลอร์ หรือลูกบอลช่วยการทรงตัว ที่ช่วยซับพอร์ตในการฝึกให้ง่ายขึ้น หากคุณรู้สึกไม่มั่นคง อาจจะเริ่มจากการฝึกบริเวณใกล้ผนังก่อนก็จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ สำหรับผู้หญิงที่กำลังฝึก โยคะ (Yoga) กับครูสอน โยคะ (Yoga) สำหรับคนท้อง ไตรมาสที่สามเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะสร้างความแข็งแกร่งและความกล้าหาญให้คุณเเม่ทั้งหลาย เพื่อสามารถก้าวไปสู่ความรู้สึกที่ไม่กลัว และกังวลในการขยับร่างกาย การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง เพิ่มโอกาสที่จะเปลี่ยนความรู้สึกที่อ่อนแอให้เป็นจุดแข็งได้

 

ประโยชน์ของการฝึก โยคะ (Yoga) สำหรับคนท้อง

 

เมื่อตั้งครรภ์แล้วคุณหมอมักจะแนะนำให้ออกกำลังกายน้อยลง หรือไม่ก็ให้งดออกกำลังกายไปเลย แต่ยังมีกีฬาอีกประเภทที่ยังใช้ออกกำลังกายได้ระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะมีประโยชน์ต่อคุณแม่ นั่นก็คือ โยคะ (Yoga) นั่นเอง ซึ่งการเล่น โยคะ (Yoga) มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนี้

 

ช่วยปรับอารมณ์และจิตใจของคุณแม่

การฝึก โยคะ (Yoga) จะช่วยฝึกสมาธิให้กับคุณแม่ไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่คงที่ ลดการหวั่นวิตกจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี

 

บรรเทาอาการไม่สบายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้

การเจ็บปวดเนื้อตัว เจ็บปวดข้อ การเป็นตะคริว อาการคลื่นไส้ตอนเช้า เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ทุกคน การฝึก โยคะ (Yoga) สามารถบรรเทาอาการต่างๆ นี้ได้ ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวขึ้น ทำให้จิตใจโปร่งโล่งสบายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วย

 

ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยในครรภ์

การฝึก โยคะ (Yoga) จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่หมุนเวียนเลือดได้ดี ทำให้ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ จึงช่วยให้ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น

 

คุณแม่คลอดง่าย

การเล่น โยคะ (Yoga) จะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น และผ่อนคลาย โดยจะช่วยยืดเส้นเอ็นและข้อต่อต่างๆ ทำให้ลดการแข็งตึงของกล้ามเนื้อระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้คลอดง่ายขึ้น

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดได้เร็ว

ร่างกายของคุณแม่ที่เล่น โยคะ (Yoga) นั้น จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างที่ดีเร็วขึ้น เพราะการเล่น โยคะ (Yoga) ระหว่างท้องจะช่วยลดหน้าท้องหลังคลอดได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยปรับระบบขับถ่าย และระบบหมุนเวียนเลือดให้กลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็วอีกด้วย มีตัวอย่างคุณแม่ในวงการบันเทิงหลายคนที่เล่น โยคะ (Yoga) ระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้หลังคลอดร่างกายฟื้นฟูเร็วมาก เป็นต้น

 

การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ควรดูแลทั้งเรื่องอาหาร และออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เนื่องจากอาหารนั้นมีความสำคัญต่อลูกน้อยในท้อง ส่วนการออกกำลังกายนั้นสำคัญต่อความแข็งแรงของร่างกายคุณแม่ การดูแลสองอย่างควบคู่ไปจะทำให้ได้สุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และคุณลูกไปพร้อมๆ กัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก yosana

 

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

เตรียมความพร้อมก่อนเล่นโยคะ

ท่าโยคะ ช่วยให้หลับสบาย



บทความที่น่าสนใจ

เพิ่มออกซิเจนในร่างกายด้วย โยคะ ( Yoga )
อยู่บ้านควรเลือกโยคะหรือเต้นแอโรบิคดี