โยคะ ( Yoga ) ช่วยควบคุมเบาหวาน

Share : facebook_share line_share twitter_share messenger_share

โยคะ ( Yoga ) ช่วยควบคุมเบาหวาน



โยคะ ( Yoga ) ได้ประโยชน์ครอบคลุมหลายด้าน ทั้งในแง่เสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกาย รักษาสมดุลร่างกายให้ดีขึ้นไปพร้อมๆ กันกับได้รับความผ่อนคลายจิตใจ

      

โยคะ ( Yoga ) จึงช่วยให้มีสมาธิ มีสติ ทำให้คลายความเครียดคลายกังวล สามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ เพราะทำให้จิตใจมีความสงบเย็น สามารถควบคุมอารมณ์และปลดปล่อยอารมณ์อย่างถูกต้องได้ ควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ โยคะ ( Yoga ) สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า โยคะ ( Yoga ) มีผลดีกับหลายๆ โรค รวมถึงโรคเบาหวาน บนสมมติฐานที่ว่าการฝึกลมหายใจ และท่าโยคะบางท่าควบคู่กันสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของเบตาเซลล์ของตับอ่อนได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน (Insulin Sensitivity) จึงลดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ได้ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งขณะอดอาหารและหลังรับประทานอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ การฝึก โยคะ ( Yoga ) ยังสามารถช่วยลดไขมันในร่างกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้ออีกด้วย

      

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัย พบว่า กลไกการควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ฝึก โยคะ  ( Yoga ) มีการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน อีกทั้งเปลี่ยนระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และยังทำให้ผู้ป่วยมีวินัยในการรับประทานยาเบาหวานอีกด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การฝึก โยคะ ( Yoga ) โดยฝึกปราณยามะ 30 นาที ตามด้วยท่าอาสนะ และปิดท้ายด้วยท่าศพ 15 นาที ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนจะรู้สึกว่ามีสุขภาพที่ดีขึ้นภายใน 7 - 10 วัน และพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยบางรายสามารถลดปริมาณยาได้ด้วย

 

ผลของการฝึก โยคะ ( Yoga ) ต่อร่างกาย

ทำให้ลดไขมันใต้ผิวหนังและลดน้ำหนัก ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายรายมีสุขภาพที่ดีขึ้น และระดับน้ำตาลลดลง ผลของ โยคะ ( Yoga ) ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า ติดตามผู้ป่วยไป 7 ปี ผู้ป่วยเหล่านี้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยติดตามผู้ป่วยระยะยาว 2 - 7 ปี พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดระดับน้ำตาลลดลงภายใน 3 เดือน และสามารถลดยาลงได้ เทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกโยคะ ( Yoga ) หรือหยุดฝึกไป

      

ผลของโยคะ ( Yoga ) ต่อภาวะแทรกซ้อน

การฝึก โยคะ ( Yoga ) มีผลต่อระดับหลอดเลือดเล็กและใหญ่ ทำให้มีผลต่อการควบคุมความดันและระดับไขมันในเลือดด้วย โดยการฝึกโยคะในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง หลังจากฝึกไป 3 สัปดาห์ พบว่าระดับของความดันลดลง ใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงลดลง และพบว่า ผู้ป่วยยังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคที่เกิดจากไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

สำหรับระดับไขมันในเลือดหลังจาการฝึก โยคะ ( Yoga ) ท่าต่างๆ พบว่า ระดับ LDL ลดลง และเพิ่มระดับ HDL นอกจากนี้ โยคะ ( Yoga ) ยังมีผลต่อประสิทธิภาพของปอด ผลต่อระดับภูมิคุ้มกันในเซลล์ รวมทั้งผลในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในคนทั่วไป ในการศึกษานี้ยังบอกถึงกลุ่มท่าอาสนะ ท่าเรือ ท่างู ท่าคันไถ ท่าวีรบุรุษ ท่าธนู ท่าบิดตัว ว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ท่าอาสนะอื่นๆ ของ โยคะ ( Yoga ) ที่ไม่พบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดก็ยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายในแง่อื่นๆ เช่นกัน และทั้งนี้ การทดลองในผู้ป่วยที่ได้ฝึก โยคะ ( Yoga ) ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน แล้ววัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยที่มีผู้เข้าร่วมการศึกษาบางคนหยุดฝึกไปแล้วกลับเข้ามาฝึกใหม่ เมื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเท่าผู้ที่เข้าฝึก โยคะ ( Yoga ) ต่อเนื่องตลอด 3 เดือน

      

หากอยากได้ผลตามการศึกษาดังกล่าว ควรฝึกโยคะ ( Yoga ) อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อยควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบอื่นด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก birdofyoga

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

หันมาเล่นโยคะตอนเช้าอาบแดดกันเถอะ

คลายกล้ามเนื้อหลังการฝึก โยคะ



บทความที่น่าสนใจ

ทัศนคติ ที่ผิดเกี่ยวกับ โยคะ
เด็ก ๆ กับ โยคะ